วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557



                           ประเพณีไทย การทำขวัญผึ้ง





 เป็นประเพณีไทยพื้นบ้านที่เก่าแก่ของหมู่บ้านโซกกระบาท ตำบลคีรีมาศ 
อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย ประเพณีนี้ได้ถูกรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่หลังจากสูญหายไป

ราว 40 ปีในอดีตเมืองศรีคีรีมาศต้องส่งส่วยน้ำผึ้งทดแทนการถูกเกณฑ์แรงงาน

ตามพระราชกำหนดตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุง

รัตนโกสินทร์ก็ได้มีการยกเลิกการส่งส่วยน้ำผึ้งการส่งส่วยดังกล่าวเป็นผลให้เกิด

มีประเพณีการทำขวัญผึ้งเพื่อให้ผึ้ง มาทำรังตามต้นไม้มากๆ ต่อมาประเพณีได้ค่อย ๆ 

เลือนหายไป ศูนย์ศึกษาและวิจัยวัฒนธรรมพื้นบ้าน หัวเมืองฝ่ายเหนือ 


มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลก(ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยนเรศวร 
พิษณุโลก) ได้ฟื้นฟูประเพณีการทำขวัญผึ้งตำบลคีรีมาศ อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัยขึ้น
เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2526 ตรงกับวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 สถานที่ประกอบพิธีทำขวัญ
ผึ้งเป็นป่าใหญ่อยู่ไกลออกไปจากหมู่บ้านบริเวณเขาหลวงนี้อุดมไปด้วยว่านนานาชนิด จึง
เป็นแหล่งที่เกิดน้ำผึ้งดอกว่านขึ้น ก่อนจะถึงวันทำพิธีชาวบ้านจะช่วยกันเตรียมข้าวของ
เครื่องใช้ ข้าวปลาอาหารสำหรับรังผึ้งปลอมต้องทำไว้ตั้งแต่กลางคืนคือ การทำขนมแดกงา 
เริ่มด้วยการนำข้าวเหนียวล้างสะอาด  แช่น้ำไว้จนข้าวเหนียวขึ้นน้ำ นำไปนึ่งให้สุกเมื่อสุกแล้วเท
ข้าวเหนียวร้อน ๆใส่ครกผสมกับเกลือเล็กน้อยโขลกให้เกลือเหลวแล้วจึงค่อย ๆ เอางาดำ
ที่คั่วแล้วผสมลงไปโขลกด้วยจนน้ำมันงาออกทำให้ข้าวเหนียวไม่ติดครก เมื่อโขลกเหนียวได้ที่
แล้วเอาข้าวเหนียวผสมงาไปใส่กระด้งนวดให้เหนียวผสมงาอีกครั้งหนึ่งจนมีสีดำ  



 จากนั้นทำเป็นรังผึ้งขนาดต่าง ๆ ติดกิ่งไม้ไว้เพื่อเตรียมไปแขวนที่ป่าเช้าของวันขึ้น 3 ค่ำ 
เดือน 3 ชาวบ้านจะพากันเดินทางไปยังบริเวณที่ประกอบพิธีในป่า บริเวณที่จะทำพิธีต้อง
มีต้นไม้ใหญ่และเคยมีรังผึ้งมาก่อนแล้ว เรียกลักษณะเช่นนี้ว่า"โซกลำเกลียว" เท่าที่ผ่านมาต้นไม้
ที่ใช้ประกอบพิธี คือ ต้นยางเมื่อได้ต้นไม้ในลักษณะที่ต้องการแล้ว  กำหนดเขตโดยใช้ไม้ไผ่สาน
สูงประมาณเอว กั้นเป็นอาณาเขตห่างจากต้นไม้ประมาณ 3 วา เว้นช่องทางให้เข้าทั้งหมด 8 ช่อง






          

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น